article

1 ปี กับผลกระทบจาก พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ.2543 และมาตราฐานการบัญชีควรเป็นกฎหมายหรือไม่ ?
06/05/2015

แนวทางการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่สำหรับ บมจ. และไม่ใช่ บมจ.

สวัสดี ท่านผู้ทำบัญชีทุกท่าน ขณะนี้ เดือนมีนาคม2553 แล้ว คณะกรรมการด้านการทำบัญชีมีข่าวด่วนที่ต้องการแจ้งให้ทราบอย่างต่อเนื่องทุก 2สัปดาห์

จากการที่สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์จัดทำมาตรฐานการบัญชีของไทยให้เป็นมาตรฐานสากล คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีกำลังเร่งจัดทำมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ(International Financial Reporting Standard; IFRS) ฉบับเข้าเล่มปี 2009 (Bound Volume 2009) คือ ฉบับที่คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศแก้ไขสิ้นสุดในปี 2008 โดยมาตรฐานการบัญชี (Thai Accounting Standards; TAS) และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (Thai Financial Reporting Standards; TFRS) เหล่านี้ ต้องถือปฏิบัติกับรอบบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 และบางฉบับที่เนื้อหาและวิธีปฏิบัติยากจะเลื่อนไปปี2556

การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชีครั้งนี้เป็นกระแสคลื่นระลอกใหญ่ กิจการจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาเตรียมทั้งคน เงิน และเวลา โดยเฉพาะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว รวมถึงบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีบางฉบับเท่านั้น แต่ในระยะเวลาที่ผ่านมา คณะกรรมการด้านการทำบัญชีรู้สึกว่า แม้สภาวิชาชีพบัญชีจะแจ้งข่าวสารนี้มาระยะหนึ่งแล้ว ปรากฏว่า นักบัญชี CFO หรือ CEO บริษัทต่าง ๆ ไม่ได้ให้ข้อมูลป้อนกลับ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่กิจการหลายแห่งยังไม่รับทราบข่าวสำคัญนี้หรือได้ทราบแล้วแต่ประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไว้น้อยเกินไป เพราะแม้สภาวิชาชีพบัญชีจะเคยจัดประชุมชี้แจงแล้ว แต่ด้วยเวลาการประชุมที่จำกัด การชี้แจงให้ครอบคลุมประเด็นรายละเอียดที่อาจมีผลกระทบต่อกิจการจึงไม่สามารถทำได้

นอกจากนี้ หลายกิจการอาจคาดว่าผู้สอบบัญชีของท่านเป็นนายแพทย์ที่จะรักษา

“โรคบัญชี” ได้ทุกอาการ ขณะที่นายแพทย์เหล่านั้นต่างมีความชำนาญเฉพาะด้านและมีประสบการณ์ มีข้อมูลประกอบต่างกันจึงอาจไม่สามารถรักษาโรคได้ทุกอาการเหมือนเคย เมื่อมองกลับมาในกิจการ ผู้บริหารของท่านอาจเล็งเห็นความสามารถของท่านที่ช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางบัญชีได้เสมอ คณะกรรมการด้านการทำบัญชีขออนุญาตให้ความเห็นว่า ครั้งนี้ท่านต้องรวมใจเป็นหนึ่งและต้องชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบและร่วมทำงานกันให้ดี อย่า Underestimate มิฉะนั้นท่านอาจเผชิญ Mission Impossible ได้

ก่อนจบข่าวฉบับนี้ คณะกรรมการด้านการทำบัญชีขอเสนอแนวทางการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ สรุปได้ดังนี้

ฉบับที่ มาตรฐานการบัญชี บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน

1 การนำเสนองบการเงิน บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
2 สินค้าคงเหลือ บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
7 งบกระแสเงินสด บริษัทมหาชน
8 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
10 เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
11 สัญญาก่อสร้าง บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
16 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
17 สัญญาเช่า บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
18 รายได้ บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
19 ผลประโยชน์ของพนักงาน บริษัทมหาชน
23 ต้นทุนการกู้ยืม บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
24 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทมหาชน
26 การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์หลังเกษียณอายุ บริษัทมหาชน
27 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ บริษัทมหาชน
28 เงินลงทุนในบริษัทร่วม บริษัทมหาชน
29 การรายงานในภาวะเศรษฐกิจเงินเฟ้อรุนแรง บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
31 ส่วนได้เสียในการร่วมค้า บริษัทมหาชน
33 กำไรต่อหุ้น บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
34 งบการเงินระหว่างกาล บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
36 การด้อยค่าของสินทรัพย์ บริษัทมหาชน
37 ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
38 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
40 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน

 

ฉบับที่ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน

2 การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ บริษัทมหาชน
3 การรวมธุรกิจ บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
5 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน
6 การสำรวจและประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่ บริษัทมหาชน บริษัทที่ไม่ใช่มหาชน

 

ในฉบับหน้า คณะกรรมการด้านการทำบัญชีจะเล่าถึงกระบวนการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีเหล่านี้เพื่อให้กิจการเตรียมความพร้อมได้อย่างเหมาะสม ในระหว่างนี้ ขอให้ท่านผู้ทำบัญชีทุกท่าน ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมไว้ แล้วพบกันใหม่ทุก 2 สัปดาห์

ข้อมูลดี ๆ จากเว็บไซต์ http://www.cpa4bis.com/